การประชุมวิชาการระดับชาติ

พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 8

“การวิจัย และนวัตกรรมสู่การพัฒนา
อย่างยั่งยืน (SDGs)”

28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว)

การประชุมวิชาการระดับชาติ
พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 8

“ การวิจัย และนวัตกรรมสู่การพัฒนา
อย่างยั่งยืน (SDGs) ”

28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
(ส่วนทะเลแก้ว)





รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 8

ลงทะเบียน

คลิก >>

เข้าสู่ระบบ/ส่งบทความ

คลิก >>

สถานะ/การนำเสนอผลงาน

คลิก >>

รูปแบบการนำเสนอ

     การเตรียมความพร้อมก่อนนำเสนอบทความ
          1. สามารถตรวจสอบรายชื่อตนเอง ชื่อบทความที่นำเสนอ ลำดับการนำเสนอ ได้ที่ http://conference.psru.ac.th/pbr2023 ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2566
          2. บทความที่นำเสนอเป็นบทความที่ได้รับการแก้ไขและตรวจสอบการแก้ไข ตามข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิ เรียบร้อยแล้ว
          3. อุปกรณ์ที่ใช้นำเสนอต้องรับรองการใช้งานกล้องวิดีโอ ไมโครโฟน และอินเทอร์เน็ต

การนำเสนอแบบบรรยาย (Onsite,Online)

          1.1 แบบออนไซต์ (Onsite) คือ ผู้นำเสนอต้องมาที่ห้องประชุม ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
          1.2 แบบออนไลน์ (Online) คือ ผู้นำเสนอใช้โปรแกรม zoom นำเสนอ โดยไม่ต้องมาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

          การนำเสนอผลงาน แบบบรรยาย
               1. จัดเตรียม PowerPoint ประกอบการนำเสนอแบบ Onsite โดยใช้เวลาการนำเสนอ บทความละไม่เกิน 10 นาที และตอบคำถามจากผู้ร่วมประชุมและจากผู้ทรงคุณวุฒิ ใช้เวลาประมาณ 5 นาที โดยส่ง File PowerPoint มายังอีเมล pibulresearch@psru.ac.th ภายในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566
               2. กรณีผู้นำเสนอผลงาน แบบออนไลน์ (Online) ผู้นำเสนอต้องจัดทำคลิป VDO นำเสนอผลงานชนิดไฟล์ MP4 และส่งลิ้งค์จากไดรฟ์ของนักวิจัยไปยังอีเมล pibulresearch@psru.ac.th สำหรับเปิดในช่วงการนำเสนอผลงานของท่าน ภายในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 โดยในวันนำเสนอผลงานผู้นำเสนอต้องรอตอบข้อซักถามจากกรรมการวิพากษ์หลังคลิป VDO นำเสนอผลงานจบ

          เกณฑ์การพิจารณา
               1. คุณค่าและประโยชน์ของงานวิจัย
               2. ความถูกต้องและเหมาะสมของวิธีการดำเนินการวิจัยเกี่ยวกับประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
               3. การสร้างเครื่องมือ/การเก็บรวบรวมข้อมูล
               4. การวิเคราะห์ข้อมูล
               5. รูปแบบการนำเสนอ สื่อ/PowerPoint ที่ใช้ในการนำเสนอ
               6. การตอบข้อซักถาม บุคลิกภาพและการรักษาเวลาในการนำเสนอ
               7. ความใหม่ของงานวิจัย (การค้นพบสิ่งใหม่/กระบวนการใหม่ สามารถนำไปต่อยอดได้)

          ข้อเสนอแนะสำหรับผู้นำเสนอผลงาน
               1. ผู้นำเสนอแบบออนไลน์ควรเลือกห้องที่เงียบและมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่ดีในการนำเสนอ เพื่อป้องกันเสียงรบกวน และมีสมาธิในการนำเสนอ
               2. ช่วงระหว่างการ “รอ” นำเสนอ ขอผู้นำเสนอแบบออนไลน์ให้ปิดไมโครโฟนเสียงก่อนเพื่อไม่ให้รบกวนผู้อื่น
               3. หากมีข้อสงสัยหรือซักถามให้กดปุ่ม ยกมือ แล้วคณะกรรมการประจำห้องจะอนุญาตให้เปิดไมค์และซักถามได้
               4. กรณีพบปัญหาระหว่างการนำเสนอ ให้อยู่ในดุลยพินิจของคณะกรรมการจัดงาน

การนำเสนอแบบโปสเตอร์ (Onsite,Online)

          2.1 แบบออนไซต์ (Onsite) คือ ผู้นำเสนอต้องมาที่ห้องประชุม ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
          2.2 แบบออนไลน์ (Online) คือ ผู้นำเสนอใช้โปรแกรม zoom นำเสนอ โดยไม่ต้องมาที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม

          ลักษณะและขนาดของโปสเตอร์
               1. ขนาดโปสเตอร์ที่กำหนด คือ กว้าง 80 เซนติเมตร สูง 120 เซนติเมตร (แนวตั้ง) ตำมรูปแบบที่ผู้จัดกำหนดในตัวอย่าง
               2. ขนาดตัวอักษรชื่อเรื่อง ชื่อผู้วิจัย ควรมีความสูงไม่น้อยกว่า 1 นิ้ว หรือ 2.5 เซนติเมตรหรือ 70 Points (font size)
               3. ขนาดตัวอักษรเนื้อหา ควรมีความสูงไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร ควรมีความสูงไม่น้อยกว่า 1 เซนติเมตร หรือ 28 points (font size)
               4. ภาษาที่ใช้ในการนำเสนอผลงาน สามารถนำเสนอได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
               5. เนื้อหาภายในโปสเตอร์ไม่ควรมากเกินไป ควรสรุปเฉพาะใจความสำคัญ ควรกระชับ ชัดเจน ไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย ควรมีภาพประกอบ หรือใช้ตารางและรูปภาพเพื่อสื่อความหมายแทนข้อความ เป็นต้น
               6. สามารถดาวน์โหลดต้นฉบับ/ต้นแบบ ได้ที่ คลิก

          การติดตั้งโปสเตอร์
               1. ผู้นำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ ควรนำโปสเตอร์มาติดภายในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 15.30 – 16.30 น. และวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ก่อนเวลา 8.30 น. โดยติดตั้งโปสเตอร์ ณ ชั้น 4 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว)
               2. โปสเตอร์ที่นำเสนอจะติดตั้งไว้ตลอดทั้งวันในวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 และเพื่อไม่ให้เกิดความ เสียหายระหว่างการติดตั้งควรใส่เบอร์โทรศัพท์และ e – mail ของผู้เสนอผลงาน เพื่อให้ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้
               3. ผู้นำเสนอผลงานจัดเก็บโปสเตอร์ได้ใน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. เป็นต้นไป
               4. การติดตั้งและจัดเก็บโปสเตอร์เป็นหน้าที่ของผู้นำเสนอผลงานภาคโปสเตอร์ ตามที่กำหนด

          การนำเสนอผลงาน
               ผู้ทรงคุณวุฒิจะพิจารณาโปสเตอร์แสดงผลงานใน วันอังคารที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ในช่วงเวลา 10.30-12.00 น. โดยผู้นำเสนอต้องยืนประจำที่โปสเตอร์เพื่อนำเสนอผลงานและตอบข้อซักถาม ในเวลาที่ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาเพื่อที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะคัดเลือกผลงานดีเด่นเข้ารับรางวัล

          หัวข้อและเนื้อหาที่นำเสนอบนโปสเตอร์ขนาด 80*120 cm.
               1. ชื่อเรื่องภาษาไทย
               2. ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ
               3. ชื่อผู้วิจัย ผู้ร่วมวิจัย และต้นสังกัด
               4. บทนำ
               5. วัตถุประสงค์
               6. วิธีการดำเนินการวิจัย
               7. ผลการวิจัย
               8. สรุปผลและอภิปรายผลการวิจัย
               9. ข้อเสนอแนะ
               10. เอกสารอ้างอิง
               ** หมายเหตุ สามารถใส่รูปภาพ และตารางได้ตามความเหมาะสมของเนื้อหา

          การนำเสนอผลงาน แบบโปสเตอร์
               1. จัดทำโปสเตอร์ตามรูปแบบการนำเสนอ (Template) ที่การประชุมวิชาการกำหนด โดยมีขนาด A3 จัดส่งไฟล์โปสเตอร์ ชนิดไฟล์ PDF
               2. กรณีผู้นำเสนอโปสเตอร์แบบออนไลน์ (Online) ให้จัดทำคลิป VDO ประกอบการบรรยายโปสเตอร์ ความยาวเรื่องละไม่เกิน 10 นาที ชนิดไฟล์ MP4 โดยส่งลิ้งค์จากไดรฟ์ของนักวิจัยไปยังอีเมล pibulresearch@psru.ac.th สำหรับเปิดให้ผู้ทรงคุณวุฒิฟังการนำเสนอโปสเตอร์ ภายในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566

          การพิจารณาผลงาน สำหรับการนำเสนอ
               1. บทความต้องไม่ผ่านการตีพิมพ์ เผยแพร่ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์ที่ใดมาก่อน
               2. บทความต้องเป็นไฟล์ Microsoft Word ตรงตามรูปแบบที่ประชุมวิชาการกำหนดไว้
               3. บทความต้องมีการอ้างอิงตามรูปแบบ APA ที่ประชุมวิชาการกำหนดเท่านั้น และต้องเป็นภาษาอังกฤษทุกรายการ
               4. บทความต้องได้รับการยินยอมจากผู้เขียนร่วมทุกคน
               5. บทความต้องไม่ซ้ำซ้อน หรือละเมิดลิขสิทธิ์จากผลงานเขียนของผู้อื่น
               6. บทความที่ได้รับการคัดเลือกให้นำมาเสนอในงานประชุมวิชาการ จะถูกรวบรวมและตีพิมพ์เป็นรายงานการประชุมวิชาการ (Proceedings) โดยเผยแพร่บนเว็บไซต์ http://conference.psru.ac.th/pbr2023
               7. หากผลงานวิจัยในการนำเสนอเป็นเพียงส่วนหนึ่งของงานวิจัย โปรดระบุในบทคัดย่อว่าเป็นส่วนหนึ่งของงานที่เสร็จสมบูรณ์หรือของงานที่กำลังดำเนินการอยู่
               8. ผลงานวิชาการลักษณะอื่นๆ ที่ไม่ใช่งานวิจัย (เช่น การวิเคราะห์เนื้อหาจากการทบทวนวรรณกรรม รูปแบบ/โมเดล ทางการศึกษา ฯลฯ) อาจได้รับการพิจารณาหากเกี่ยวข้องกับประเด็นการประชุม

          หมายเหตุ
               1. ผู้นำเสนอจะได้รับเกียรติบัตรหลังจากการประชุมวิชาการเสร็จสิ้นแล้ว โดยสามารถดาวน์โหลดเกียรติบัตรออนไลน์ได้จากเว็บไซต์ประชุมวิชาการ เมื่อผู้นำเสนอได้ทำการประเมินความพึงพอใจเรียบร้อยแล้ว ระหว่างวันที่ 10 มีนาคม 2566
               2. รายงานสืบเนื่องจากการประชุมฯ (Proceedings) จะเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ ตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม2566 เป็นต้นไป

บทความวิจัยที่อยู่ในระดับดีมาก จะได้รับพิจารณาคัดเลือกให้ตีพิมพ์ลงในวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI กลุ่ม 1
     1. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
     2. Life Sciences and Environment Journal

กำหนดการส่งบทความวิจัย

ขอสงวนสิทธิ์รับจำนวนจำกัด 100 บทความเท่านั้น และจะปิดระบบลงทะเบียนเมื่อบทความครบจำนวน

30 พฤศจิกายน 2565

เปิดระบบลงทะเบียนออนไลน์ พร้อมรับบทความ Full Paper

 

20 มกราคม 2566*

ขยายระยะเวลาเปิดรับบทความ Full Paperและชำระเงินลงทะเบียน
ปิดระบบลงทะเบียนออนไลน์ พร้อมปิดรับบทความ Full Paper

 

ภายใน 20 มกราคม 2566

ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความ Full Paper

 

10 – 25 มกราคม 2566

ผู้เขียนปรับแก้ไขตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมส่งฉบับแก้ไขกลับมายังคณะทำงาน

 

1 กุมภาพันธ์ 2566

ประกาศผลการพิจารณา

 

28 กุมภาพันธ์ 2566

วันจัดงานประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ.2566

 

หัวข้อในการส่งบทความ

กลุ่มที่ 1 ด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม

กลุ่มที่ 2 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

กลุ่มที่ 3 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

กลุ่มที่ 4 ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ

กลุ่มที่ 5 ด้านการจัดการและการท่องเที่ยว

กลุ่มที่ 6 ด้านวิจัยสถาบัน

วิทยากรบรรยายพิเศษ

 

ศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล

ประธานอนุกรรมการด้านการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย กกอ.

เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "Reinventing University การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน"

 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม และข่าวประชาสัมพันธ์

รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 8



        • รายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 8

เกียรติบัตร การประชุมวิชาการพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 8

        • ดาวน์โหลดเกียรติบัตร การนำเสนอในการประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 8
เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ

        • เอกสารประกอบการบรรยายพิเศษ หัวข้อ "Reinventing University การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน"
กำหนดการประชุมวิชาการ

        • คู่มือการนำเสนอแบบออนไลน์
        • กำหนดการนำเสนอผลงานแบบบรรยาย (Onsite และ Online)
        • กำหนดการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ (Online)
        • กำหนดการนำเสนอผลงานแบบโปสเตอร์ (Onsite)


ห้องประชุมวิชาการฯ ในรูปแบบออนไลน์ (Online)
ลำดับ ชื่อห้อง/กลุ่ม Zoom Meeting ID Passcode Zoom invitation link
พิธีเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติพิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 8 และบรรยายพิเศษ หัวข้อ "Reinventing University การพลิกโฉมมหาวิทยาลัยเพื่ออนาคตที่ยั่งยืน" โดย ศาสตราจารย์ ดร.พีระพงศ์ ทีฆสกุล 923 3167 1866 293201 https://zoom.us/j/92331671866?pwd=SmpXaExkbzdyeG00UXliVmpuUUxSUT09
1 แบบบรรยาย ห้อง Meeting Hall
กลุ่ม 1 ด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม
917 6102 3959 568084 https://zoom.us/j/91761023959?pwd=YmNGZnBkSTMyWmpKNEJiSDJVUks0UT09
2 แบบบรรยาย ห้อง Meeting room 1
กลุ่มที่ 2 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มที่ 5 ด้านการจัดการและการท่องเที่ยว
986 6828 5344 685352 https://zoom.us/j/98668285344?pwd=ODI0VVY2alg1b29zZlR1OWJPZWJBdz09
3 แบบบรรยาย ห้อง Meeting room 2
กลุ่มที่ 3 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
988 9966 1534 326997 https://zoom.us/j/98899661534?pwd=ZEhmdCtodUJyN3J3NERmSmp0MHd0UT09
4 แบบบรรยาย ห้อง Meeting room 3
กลุ่มที่ 3 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
981 7644 0600 876051 https://zoom.us/j/98176440600?pwd=Zk0wMDZvb21kS1B2SnR4cmVUbE12dz09
5 แบบบรรยาย ห้อง Mini Theater 1
กลุ่มที่ 4 ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
973 6435 6690 267240 https://zoom.us/j/97364356690?pwd=YUl3WU1SZU11WS9jNElva0dMMW9rQT09
6 ห้อง Mini Theater 2
โปสเตอร์ Online ทุกกลุ่ม
977 8808 7087 834632 https://zoom.us/j/97788087087?pwd=OTdoVGRYY2JrVk84MjNYNmxRbDhVZz09


โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์

เอกสารแจ้งผลการพิจารณาเข้าร่วมนำเสนอผลงานวิจัย

กลุ่มที่ 1 ด้านการศึกษาและศิลปวัฒนธรรม
URL : https://shorturl.asia/Su9Jw

กลุ่มที่ 2 ด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
URL : https://shorturl.asia/zKeEu

กลุ่มที่ 3 ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
URL : https://shorturl.asia/smO96

กลุ่มที่ 4 ด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ
URL : https://shorturl.asia/gMqPU

กลุ่มที่ 5 ด้านการจัดการและการท่องเที่ยว
URL : https://shorturl.asia/fqs2A

กลุ่มที่ 6 ด้านวิจัยสถาบัน
URL : https://shorturl.asia/MoYaT

อัตราค่าลงทะเบียน

บุคคลภายใน

ผู้นำเสนอผลงาน (นักวิจัย/นิสิต/นักศึกษา)

ชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า (Early Bird)

1,000/บาท

ชำระค่าลงทะเบียนภายใน วันที่ 15 ธันวาคม 2565

ชำระค่าลงทะเบียนปกติ (Normal Rate)

1,500/บาท

ชำระค่าลงทะเบียนตั้งแต่
วันที่ 16 ธ.ค. 2565 ถึง 10 ม.ค. 2566

บุคคลภายนอก

ผู้นำเสนอผลงาน (นักวิจัย/นิสิต/นักศึกษา)

ชำระค่าลงทะเบียนล่วงหน้า (Early Bird)

2,000/บาท

ชำระค่าลงทะเบียนภายใน วันที่ 15 ธันวาคม 2565

ชำระค่าลงทะเบียนปกติ (Normal Rate)

2,500/บาท

ชำระค่าลงทะเบียนตั้งแต่
วันที่ 16 ธ.ค. 2565 ถึง 10 ม.ค. 2566

ชำระค่าลงทะเบียน



ธนาคารกรุงเทพ หมายเลขบัญชี

660-0-23699-3

ชื่อบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
สาขามหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม

ติดต่อเรา

มหาวิทยาลัยราชภัฏ
พิบูลสงคราม
156 ม.5 ต.พลายชุมพล อ.เมือง จ.พิษณุโลก 65000

055-267-000 ต่อ 7215, 7224

055-267-038